สนามมวยเวทีลุมพินีแห่งใหม่(รามอินทรา) ผ่านการออกแบบและเลือกใช้เทคโนโลยีในการก่อสร้างที่ทันสมัย ใส่ใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตอบสนองความสะดวกสบายแก่ผู้ชมได้เป็นอย่างดี โดยมีอาคารหลัก 3 อาคาร ประกอบด้วย อาคารสนามมวยเวทีลุมพินี อาคารสำนักงานสนามมวยเวทีลุมพินี และอาคารที่จอดรถ 5 ชั้น
อาคารสนามมวยเวทีลุมพินี ใช้สำหรับแข่งขันมวยไทยและมวยสากล จุผู้ชมได้จำนวนกว่า 5,000 คน เพียบพร้อมไปด้วย ระบบแสง สี เสียง ที่ทันสมัย และจอ LED ขนาดใหญ่ อาคารสำนักงานสนามมวยเวทีลุมพินี เป็นอาคารที่มีรูปแบบทันสมัย ออกแบบมาเพื่อตอบสนองให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด แบ่งเป็น 3 ชั้น ประกอบด้วย ชั้นที่ 1 พิพิธภัณฑ์มวยไทย ชั้นที่ 2 จัดเป็นห้องประชุม ห้องรับรองแขกวีไอพี ชั้นที่ 3 เป็นส่วนของสำนักงานสนามมวยเวทีลุมพินี
อาคารจอดรถ 5 ชั้น ขนาดความจุกว่า 300 คัน เป็นอาคารที่มีรูปแบบทันสมัย กว้างขวาง สามารถจอดรถได้อย่างสะดวกสบาย และมั่นใจด้วยระบบความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานสากล แบ่งเป็น ชั้นที่ 1 มีสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการแฟนมวย เช่นร้านอาหาร ห้องอบซาวน่า นวดแผนไทย เป็นต้น ชั้นที่ 2-5 เป็นพื้นที่สำหรับจอดรถยนต์ พร้อมกันนี้ โดยรอบอาคารสนามมวยฯ ยังมีลานวัฒนธรรมสำหรับจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม และฝึกซ้อมมวยไทย พร้อมร้านอาหารและเครื่องดื่ม ไว้คอยบริการแฟนมวยอีกด้วย
ที่ตั้ง เลขที่ 6 ถนนรามอินทรา แขวงอนุสาวรีย์ บางเขน กรุงเทพมหานคร บนเนื้อที่ 6 ไร่ 2 งาน
การเดินทาง ::
- รถประจำทาง สาย 34,114,185,188
- รถปรับอากาศสาย ปอ.34, ปอ.39, ปอ.42, ปอ.144, ปอ.185, ปอ.503, ปอ.520, ปอ.522, ปอ.523, ปอ.543
- รถตู้ปรับอากาศ สาย ต.13, ต.42, ต.81, ต.82, ต.116
- รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู(ในอนาคต)
ข้อมูลสนามมวยลุมพินี(พระราม4)
***เป็นสนามเก่า ปัจจุบันปิดทำการไปแล้ว***
สนามมวยเวทีลุมพินี(พระราม4) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2499 เป็นสนามมวยมาตรฐาน 1 แห่งในจำนวนทั้งหมด 2 แห่งในประเทศไทย ได้สร้างชื่อเสียงทั้งในด้านการเสริมสร้างและผลิตนักมวยไทยชั้นนำของประเทศ ส่งเสริมศิลปะมวยไทยให้แพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนสร้างนักมวยสากลจนสามารถเป็นแชมเปี้ยนโลกหลายคน และมีส่วนส่งเสริมธุรกิจภายในประเทศด้วยการสร้างอาชีพให้แก่นักมวย, ค่ายมวย และผู้จัดการรวมทั้งในความบันเทิงแก่ผู้สนใจในวงการกีฬาประเภทนี้โดยทั่วกัน
วัตถุประสงค์
- สนามมวยเวทีลุมพีนี เป็นกิจการของกองทัพบก เพื่อเป็นสวัสดิการของข้าราชการกองทัพบก และสนับสนุนหน่วยต่างๆ ในกองทัพบก
- ผดุงและส่งเสริมศิลปะมวยไทยให้เป็นเอกลักษณ์ของคนไทย เช่นเดียวกับยูโด ของญี่ปุ่นหรือ เทควันโด ของเกาหลีใต้
- ผดุงและส่งเสริมให้แก่นักมวยไทยและสากล ให้เป็นอาชีพที่มั่นคงประเภทหนึ่ง
- สร้างนักมวยสากลแชมเปี้ยนโลก เพื่อส่งเสริมเกียรติภูมิของชาติไทย
- ร่วมมือกับสถาบันอื่นๆ ที่มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน
พื้นที่
เนื้อที่ดิน 1501.75 ตารางวา (ประมาณ 3 ไร่ 3 งานเศษ) โดยเช่าที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ผู้ก่อตั้ง
พลตรี ประภาส จารุเสถียร (ผู้บัญชาการทหารกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ ในขณะนั้น)
หน่วยงานรับผิดชอบ
- กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ รับผิดชอบตั้งแต่ 8 ธันวาคม 2499 - 30 มิ.ย. 2522
- กรมสวัสดิการทหารบก รับผิดชอบตั้งแต่ 1 ก.ค. 2522 - ปัจจุบัน
แผนผังแสดงระบบบริหารของเวทีลุมพินี
พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์
ประธานกรรมการอำนวยการ สนามมวยเวทีลุมพินี
|
พ.อ.วสันต์ พึ่งสำเภา รองนายสนาม(1)
|
พล.อ. เดชอุดม นิชรัตน์ นายสนามมวยเวทีลุมพินี
|
พ.อ. กฤษดา จินดาลัทธ รองนายสนาม(2)
|
พ.อ.ธวัชชัย ศิริปรุ ผู้ช่วยนายสนาม(1)
|
พ.อ. สมสกุล วิจิตรภาพ เลขาธิการ
|
พ.อ. สุภร สัมมา ผู้ช่วยนายสนาม(2)
|
พล.ต.ดาบศักดิ์ กองสมุทร หัวหน้าฝ่ายแพทย์
|
พ.อ. มงคล บุตรดาวงษ์ หัวหน้าฝ่ายธุรการ
|
พ.อ. สุดเขตต์ ชื่นภิรมย์ หัวหน้าฝ่ายพิจารณาโทษและปราบมวยล้มฯ
|
พ.อ. ชำนาญ ใจทัน หัวหน้าฝ่ายจัดรายการ
|
พ.อ. พศิน อิ่มรส หัวหน้าฝ่ายสิทธิประโยชน์และต่างประเทศฯ
|
พ.อ. สมเกียรติ ถนอมคุ้ม หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์
|
พ.อ. เอกฉันท์ ชาญเฉลิม หัวหน้าฝ่ายเทคนิค
|
พ.อ.จตุพร ดิสราพร หัวหน้าฝ่ายการเงิน
|
พ.ท.เอิบ แสงฤทธิ์
8 ธ.ค. 2499 - มิ.ย. 2504
พ.ท.เทพ กรานเลิศ
ก.ค. 2504 - ต.ค. 2504
พลจัตวา ขุนชิดผะดุงพล
ต.ค. 2504- ก.ค. 2511
พล.ต.ประเสริฐ ธรรมศิริ
ก.ค. 2511 - ต.ค. 2515
พ.อ.ทองเติม พบสุข
ต.ค.2515 - ก.ค.2518
พ.อ.ชาย ดิษยเดช
ก.ค.2519 - 30 พ.ย. 2522
พล.ต.อัสนี สมุทรเสน
1 ธ.ค. 22 - 31 พ.ค. 25
พล.ต.สวัสดิ์ ศิริผล
1 มิ.ย. 25 - 30 ก.ย. 28
พล.ต. ทวีวิทย์ นิยมเสน
1 ต.ค. 28 - 30 ก.ย. 31
พล.ต. ชลอ คงสุวรรณ
1 ต.ค. 31 - 30 ก.ย. 34
พล.ต.วรพงศ์ สังวรราชทรัพย์
1 ต.ค. 34 - 5 ธ.ค. 37
พล.ท.วัฒน์ เกิดสว่าง
6 ธ.ค. 37 - 30 ก.ย. 41
พล.อ.วันชัย นิลเขียว
1 ต.ค. 41 - ก.ย. 2544
พล.ต.อนันต์ศักดิ์ ลักษณลม้าย
ต.ค. 2544 - 2547
พล.ต.ไพโรจน์ รัฐประเสริฐ
2547 - เม.ย. 2548
พล.ต.กิตติทัศน์ บำเหน็จพันธุ์
พ.ค. 2548 - ต.ค. 2550
พล.ต.ธีระ ไกรพานนท์
พ.ย. 2550 - ต.ค. 2551
พล.ต.เฉลิมเกียรติ โพธิ์ทองนาค
พ.ย. 2551 - ก.ย.2553
พล.ต.สุรไกร จัตุมาศ
ต.ค. 2553 - ก.ย. 2557
พล.ท.บุญสันติ แสนสวัสดิ์
ต.ค. 2557 - พ.ค. 2558
พล.อ.ระพีศักดิ์ ธนะพัฒน์
พ.ค. 2558 - ก.ย. 2558
พล.ต.เกษม เบญจนิรัติศัย
ต.ค. 2558 - ก.ย. 2560
พล.ต.ศุภณัฐ แก้วหิรัญ
ต.ค. 2560 - ต.ค. 2561
พล.ต.ชวเมธ จุ้ยเจริญ
ต.ค. 2561 - เม.ย.2562
พล.อ. เดชอุดม นิชรัตน์
เม.ย.2562 - ปัจจุบัน
หลักการดำเนินงานของสนามมวยเวทีลุมพินี
- การบริหารและการดำเนินกิจการทั้งปวง จะต้องให้สอดคล้องกับนโยบายของทางราชการที่กำหนดไว้ทุกประการ ให้การดำเนินกิจการสนามมวยจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของกองทัพบก และประเทศชาติ พัฒนาก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่อง และส่งเสริมศิลปะมวยไทยและสากลให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น ตลอดจนส่งเสริมอาชีพชกมวยให้คงอยู่ตลอดไป และเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจของประชาชนอีกทางหนึ่งด้วย
- เงินรายได้ที่เกิดจากการดำเนินกิจการสนามมวย ส่วนหนึ่งนำมาช่วยเหลือกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาทิ การกุศล, ช่วยเหลือทหารชายแดน, ช่วยด้านสวิสดิการของข้าราชการกองทัพบก, สนับสนุนหน่วยต่างๆ ในกองทัพบก, บำรุงกีฬาของกองทัพบกและพัฒนาสนามมวยเวทีลุมพินีให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น
- พัฒนาสนามมวยเวทีลุมพินีเป็นศูนย์มวยไทยของโลก และส่งเสริมการเผยแพร่ศิลปะมวยไทยออกไปยังต่างชาติทั่วโลก
- ส่งเสริมให้มีแชมเปี้ยนโลกมวยสากลมากขึ้น
- ร่วมมือกับสมาคมมวยสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ให้นักชกไทยได้รับเหรียญทองในโอลิมปิกให้ได้
- ให้ผู้จัดรายการมวยให้ดีขึ้น มีประสิทธิภาพทัดเทียมกัน และค่าดูยุติธรรม
- พัฒนาการตัดสินมวยของกรรมการเทคนิค ให้มีคุณภาพและเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ
- ให้ความปลอดภัยกับผู้เข้าชมการแข่งขันชกมวยในสนามทั้งด้านตัวบุคคลและทรัพย์สินรวมทั้งป้องกันมิให้มีการโกงในสนาม (ชักดาบ)
- ให้ความร่วมมืออย่างดียิ่งกับ สมาคมกีฬามวยอาชีพแห่งประเทศไทย, สนามมวยเวทีราชดำเนิน, สนามมวยในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ และสถาบันอื่นๆ ที่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน
- สร้างความสัมพันธ์อันดีกับสื่อมวลชนทุกสาชา และประชาชนโดยทั่วไป
คุณสมบัติของโปรโมเตอร์
คุณสมบัติของโปรโมเตอร์ที่ดีอันพึงปรารถนาของ สนามมวยเวทีลุมพินี
- มีหัวหน้าคณะนักมวยและนักมวยที่มีคุณภาพอยู่ในคอนโทรล
- มีความขยันในการทำงาน
- เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมของวงการมวยยิ่งกว่าประโยชน์ของตัวเอง
- ปฏิบัติตามนโยบายของสนามฯ อย่างเคร่งครัด
- ถือว่าเป็นสมาชิกของ "ทหาร" จึงต้องมีวินัยของทหารในการทำงาน
- จัดคู่มวยให้เป็นที่นิยมของผู้ชมการแข่งขันในราคาที่ยุติธรรม
- เป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการมวย
- ไม่ทำความเสื่อมเสียให้กับสนามมวยเวทีลุมพินีในทุกกรณี
- มีความรัก สามัคคี สร้างสรรค์ จรรโลง วงการมวย
นายวิรัตน์ วชิรรัรตนวงศ์
ศึกเพชรยินดี
นายบรรจง บุษราคัมวงษ์
ศึกแฟร์เท็กซ์
นายนัฏ บุญญาธิสมภาร
ศึกวันบุญญา
นายชัยยันต์ ลิ่มเจริญ
ศึกเพชรบูรพา
นายปิยะรัตน์ วชิรรัรตนวงศ์
ศึกเพชรปิยะ
นายประมุข โรจนตัณฑ์
ศึกป.ประมุข
นายวิรัตน์ ไพรอนันต์
ศึกไพรอนันต์
นายสมเกียรติ ไตรพัฒนาพร
ศึกแสงสว่างพันธุ์ปลา
นายวีระพล แป้นช่วย
ศึกวันวีระพล
นายพีรพัฒน์ เปรมประยูรสุข
ศึกเพชรอัศวิน
นายวิชิต อ่องละออ
ศึกรวมพลคนแปดริ้ว
นายสุรเนตร ด่านประภา
ศึกเพชรเมืองนนท์
ที่มา : หนังสือ "42 ปี สนามมวยเวทีลุมพินี / www.lumpineemuaythai.com
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม 2562